ยินดีต้อนรับ สู่บล็อกของ นายวรมิตร สุภาพ เอกการศึกษาปฐมวัย วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ครับ

วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน
วันที่  12  ธันวาคม  พ.ศ.  2556
ครั้งที่  5  เวลาเรียน  08:30 - 12:20 น.
เวลาเข้าเรียน  08:30     เวลาเลิกเรียน  12:20

สิ่ิงที่ได้รับจากการเรียนในวันนี้
                            กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
          ให้เด็กได้เตรียมความพร้อมด้านต่าง  ๆ  ทางคณิตสาสตร์ที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษา
          สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่  จำนวนและการดำเนินการ  จำนวน  การดำเนินการของจำนวน  การรวมและการแยกกลุ่ม
สาระที่  การวัด  :  ความยาว  น้ำหนัก  ปริมาตร  เงิน  และเวลา
สาระที่  เรขาคณิต  :  ตำแหน่ง  ทิศทาง  ระยะทาง  รูปเราคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
สาระที่  พีชคณิต  :  แบบรูปและความสัมพันธ์
สาระที่  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น  :  การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ
สาระที่  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์  การแก้ไปปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อสารความหมายทางคณิตศาสตร์และนำเสนอ  และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น  ๆ   และมีความริเริ่มสร้างสรรค์
 
          คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย
1.      มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์  (Mathematica  Thinking)
-          จำนนวนนับ  ถึง  20
-          เข้าใจหลักการนับ
-          รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิก  และตัวเลขไทย
-          รู้ค่าของจำนวน
-          เปรียบเทียบ  เรียงลำดับ
-          การรวม  และการแยกกลุ่ม
2.      มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว  น้ำหนัก  ปริมาตร  เงินและเวลา
-          เปรียบเทียบ  เรียงลำดับ  และวัดความยาว  น้ำหนัก  ปริมาตร
-          รู้จักเงินเหรียญ  และธนบัตร
-          เข้าใจเกี่ยวกับเวลา  และคำที่ใช้บอกช่วงเวลา
3.      มีความรู้ความเข้าใจ  พื้นฐานทางคณิตศาสตร์
-          เรขาคณิตเกี่ยวข้องกับ  ตำแหน่ง  ทิศทาง  ระยะทาง
-          รูปเรขาคณิต  สามมิติ  และรูปเรขาคณิตสองมิติ
4.      มีความรู้ความเข้าใจ  แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง  ขนาด  สิ่งที่สัมพันธ์อย่างไรอย่างหนึ่ง
5.      มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่าย
6.      มีทักษะและกระบวนการทางคณิต  การบวกที่จำเป็น

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ให้กับเด็ก รวมทั้งเป็นแนวทางในการกำกับ ตรวจสอบ และประเมินผล มาตรฐานการเรียนรู้จัดให้อยู่ภายใต้สาระหลัก ดังนี้

สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค.. 1.1 : เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้ จำนวนในชีวิจริง
                   จำนวน
-          การใช้จำนวนบอก  ปริมาณ  ที่ได้จากการนับ
-          การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิก  และตัวเลขไทย
-          การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก  แสดงจำนวน
-          การเรียงลำดับจำนวน
ภาพตัวอย่างการเรียงลำดับจำนวน  เช่นถ้านต้องการให้เด็กตอบเชิงคณิตศาสตร์  ควรถามเด็กว่า

จำนวนของแมวกับแมลงเต่าทองอันไหมมากกว่ากันครับ  


สาระที่ 2 : การวัด
มาตรฐาน ค.. 2.1 : เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และ เวลา
                            
                     ความยาว  น้ำหนัก  และปริมาตร
-          การเปรียบเทียบ / การวัด / การเรียงลำดับความยาว
-          การเปรียบเทียบ / การชั่ง / การเรียงลำดับน้ำหนัก
-          การเปรียบเทียบปริมาตร / การตวง
                    เงิน
-          ชนิดและค่าของเงิน  เหรียญและธนบัตร
เวลา
-          ช่วงเวลาในแต่ละวัน
-          ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับวัน

สาระที่ 3 : เรขาคณิต
มาตรฐาน ค.. 3.1 : รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
มาตรฐาน ค.. 3.2 : รู้จัก จำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลง รูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
                   แปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
                         ตำแหน่ง  ทิศทางและระยะทาง
-          การบอกตำแหน่ง  ทิศทาง  และระยะทางของสิ่งต่าง  ๆ
       รูปเรขาคณิตสามมิติ  และรูปเรขาคณิตสองมิติ
-          ทรงกลม  ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก  กรวย  ทรงกระบอก
-          รูปวงกลม  รูปสามเหลี่ยม  รูปสี่เหลี่ยม
-          การเปลี่ยนแปลง  รูปเรขาคณิตสองมิติ
-          การสร้างสรรค์งานศิลปะ  ด้วยเรขาคณิต
                                           เรขาคณิตที่เด็กต้องรู้พื้นฐาน

 ภาพที่เด็กเขาแยกแยะได้
            

            

            ภาพที่ซ้อนกันอยู่
            

สาระที่ 4 : พีชคณิต
มาตรฐาน ค.. 4.1 : เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
                   แบบรูปและความสัมพันธ์
-          แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง  ขนาด  หรือสีที่สัมพันธ์กันอย่างใด  อย่างหนึ่ง
                                             
                                                 ตัวอย่างที่  1




ตัวอย่างที่  2





ตัวอย่างที่  3





สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค.. 5.1 : รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ
การเก็บรวบรวมข้อมูลและนำเสนอ
-          การนำเสนอในรูปแบบแผนภูมิแบบง่าย

สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
หมายเหตุ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ การแก้ปัญหา การให้ เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และ การนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และ เชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ในระดับปฐมวัย ยังไม่กำหนดมาตรฐานของสาระที่ 6 แต่การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ครูควรสอดแทรกทักษะและกระบวนการ ทางคณิตศาสตร์ดังกล่าวข้างต้น ตามความเหมาะสมกับระดับอายุ

กิจกรรมในวันนี้
               วันนี้อาจารย์แจกกระดาษเปล่าให้นักศึกษา  คนละ  1  แผ่น  แล้วอาจารย์ให้นักศึกษานำกระดาษสีไปตัดเป็นรูปเรขาคณิต  หรือจะเป็น  วงกลม  สี่เหลี่ยม  สามเหลี่ยม  แล้วนำมาติดลงบนกระดาษ  A4  แล้วให้นักศึกษาวาดภาพสัตว์ลงบนกระดาษของตนเอง  1  ตัว  อาจารย์ให้นักศึกษาได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์จากรูปเรขาคณิตและจินตนาการของตนเอง 
                                               
ผลงานของผมในวันนี้

การนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์
  • สามารถนำกิจกรรมที่ทำในวันนี้ไปต่อยอดในการเรียนศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กได้
  • สามารถนำความรู้ในเรื่องคณิตศาสตร์ไปใช้ในการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัยเพื่อให้เด็กปฐมวัยมีความพร้อมมากยิ่งขึ้นในการเรียนต่อไปในชั้นประถมศึกษา
  • สามารถนำรูปทรงเรขาคณิตไปสอนให้เด็กปฐมวัยรู้จักรูปเรขาคณิตพื้นฐาน
  • สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ไปใช้ในการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัยในอนาคตข้างหน้าต่อไป

วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน
วันที่  28  พฤศจิกายน  พ.ศ.  2556
ครั้งที่  4  เวลาเรียน  08:30 - 12:20 น.
เวลาเข้าเรียน  08:30     เวลาเลิกเรียน  12:20

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนในวันนี้
                            วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอ  รายงานกลุ่มที่แต่ละกลุ่มได้รับมอบหมายทั้งหมด  5  กลุ่ม  ดังนี้
  1. จำนวนและการดำเนินการ
  2. การวัด
  3. พีชคณิต
  4. เรขาคณิต
  5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น  
และอาจารย์ให้นักศึกษาแจกแบบประเมินการนำเสนอหน้าชั้นเรียน  คนละ  1  แผ่น


กลุ่มที่ 1  จำนวนและการดำเนินการ  :  การนำเสนอของกลุ่มที่  1  พูดถึงเรื่อง  จำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริงของเด็กปฐมวัย  เช่น    การนับดอกไม้  การนับดินสอ  ดังที่ตัวอย่างของเพื่อนนำมาสาธิตให้ดู
                
                การนำไปใช้  :  สามารถนำไปฝึกสอนเด็กให้เด็กบวกเลขเป็น  โดยการนำสิ่งของที่อยู่รอบๆตัวเด็กมาประยุกต์ใช้ในการสอนการนับ  เพื่อให้เด็กมีความสุข  สนุกสนานและเพลิดเพลิน  ในการได้รับประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



กลุ่มที่ 2  การวัด  :  การจัดกิจกรรมการวัดที่นำมาใช้สอนเด็กนั้นจะต้องเป็นสิ่งของที่อยู่รอบๆตัวเด็ก  เพื่อให้เด็กมีความคิดร่วมกันและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน  และสิ่งที่สำคัญการวัดของเด็กปฐมวัยนั้นจะต้องไม่มีหน่วยในการวัด

      การนำไปใช้  :  ครูสามารถนำการวัดไปประยุกต์ใช้กับกิจกรรมการเล่านิทาน  โดยการนำสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเด็กมาเล่าให้เป็นนิทานให้สอดคล้องกับการวัดของเด็กปฐมวัย  เพื่อให้เด็กปฐมวัย  มีการตอบคำถามของครูผู้สอน  และความสนุกสนานเพลิดเพลิน


กลุ่มที่  3  พีชคณิต  :  คือ  เลขคณิตของสัญลักษณ์ที่ใช้แทนจำนวน  เป็นคณิตศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย  ที่มีความเกี่ยวข้องกับรูปและความสัมพันธ์ในรูปแบบของรูปที่มีรูปร่าง  ขนาดหรือสี  ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง

        การนำไปใช้  :  ตัวอย่างที่  1 ครูสามารถจัดกิจกรรมในห้อง  โดยการใช้ลูกเต๋า  2  สี  สีละ  4  ชิ้น  มารวมกัน  แล้วให้เด็กนั้นมีส่วนร่วมในการคิดร่วมกันกับเพื่อน  เด็กอาจแยกเป็นดังรูปตัวอย่างก็ได้เช่นกัน
                                ตัวอย่างที่  2  ครูอาจจัดกิจกรรมในห้องเรียนให้เด็กนั่งเป็นกลุ่ม  กลุ่มละ  5  คน  แล้วแจกรูปภาพไก่ให้เด็ก  แต่ละภาพตัวจะไม่เท่ากัน  เด็กบางกลุ่มอาจจะเรียงจากสูงไปหาเตี้ย  หรือ  เตี้ยไปหาสูง  ก็เป็นไปได้


กลุ่มที่  4  เรขาคณิต  :  รูปทรงและรูปร่างเป็นพื้นฐานต่างๆของเด็กปฐมวัย  ที่เป็นสิ่งของต่างๆรอบตัวเด็กที่เด็กเห็นในชีวิตประจำวัน  เช่น  วงกลม  (เหรียญ)  สี่เหลี่ยม  (สมุด)  สามเหลี่ยม  (เค้ก)  ทรงกระบอก  (ขวดน้ำ)  ฯลฯ

        การนำไปใช้     :     1. ครูสามารถให้เด็กนั้นทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ก็ได้  ก่อนหน้านั้นต้องอธิบายถึงรูปทรงต่างๆว่าแต่ละรูปทรงเป็นอย่าง  เพื่อให้เด็กรู้ถึงรูปทรงเรขาคณิต  การจัดกิจกรรมโดยคุณครูตัดกระกาษสีให้เป็นรูปทรงเรขาคณิตสีต่างๆ  แล้วแบ่งกลุ่ม  กลุ่ม  6  คน  แล้วแจกกระดาษสีที่ตัดเตรียมไว้แล้วใส่ในตะกร้า  แล้วแจกให้เด็กทุกกลุ่ม  แล้วให้เด็กนั้นทากาวนำมาติดลงบนกระดาษเปล่าที่คุณครูเตรียมไว้ให้  เพื่อให้เด็กมีจินตนาการและคิดริเริ่มสร้างสรรค์


                                    2. ครูอาจให้เด็กปฐมวัยดูนิทานเรขาคณิตก็ได้

                                  
กลุ่มที่  5  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น  :  การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอในรูปแบบข้อมูลแผนภูมิอย่างง่าย  โดยการวิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสมในระดับการศึกษาปฐมวัย  เช่น  การเปรียบเทียบ  และการประมวลผลข้อมูล   ครับ





วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน
วันที่  21  พฤศจิกายน  พ.ศ.  2556
ครั้งที่  3  เวลาเรียน  08:30 - 12:20 น.
เวลาเข้าเรียน  08:30     เวลาเลิกเรียน  12:20

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนในวันนี้
               คณิตศาสตร์กับเด็กปฐมวัย
 จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์
  • สอนให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์  เช่น  คำศัพท์
  • สอนพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์  เช่น  การบวก  ลบ
  • สอนให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการหาคำตอบ
  • สอนให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
  • สอนให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
  • ส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง
  ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  1. สังเกต       
  2. การจำแนกประเภท
  3. การเปรียบเทียบ
  4. การจัดลำดับ
  5. การวัด
  6. การนับ
  7. รูปทรงและขนาด
กิจกรรมในชั้นเรียน          วันนี้อาจารย์แจกอุปกรณ์ให้นักศึกษา  กระดาษเปล่า  กระดาษสี  สี  กรรไกร  กาว  และปากกาเมจิก  อาจารย์ให้นักศึกษาวาดรูปวงกลมประมาณลูกปิงปอง  กลางกระดาษเปล่า  แล้วอาจารย์ให้นักศึกษาเขียนเลขใดเลขหนึ่ง  ไม่เกิน  10  ตรงกลางรูปวงกลมบนกระดาษเปล่า  เมื่อเขียนเสร็จแล้วอาจารย์ให้นักศึกษาตัดกระดาษสีเป็นกลีบดอกไม้  ตามจำนวนเลขของตนเองที่เขียนลง  แล้วตกแต่งให้สสวยงาม


 ดอกทานตะวัน

วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2


บันทึกอนุทิน
วันที่  14  พฤศจิกายน  พ.ศ.  2556
ครั้งที่  2  เวลาเรียน  08:30 - 12:20 น.
เวลาเข้าเรียน  08:30     เวลาเลิกเรียน  12:20

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนในวันนี้

                      วันนี้อาจารย์อธิบายถึงระบบการคิดของมนุษย์และอธิบายความสำพันธ์ของสิ่งต่างๆในเชิงปริมาณ  โดยใช้ภาพ  สัญลักษณ์  การพูด  ความสำคัญของคณิตศาสตร์  และทฤษฏีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย  ตามแนวคิดของเพียเจท์ 
                       ขั้นที่  1  พัฒนาการทางด้านประสาทสัมผัส  แรกเกิด - 2  ปี
                       ขั้นที่  2  เตรียมการความคิดที่มีเหตุผล         2 - 7  ปี
การอนุรักษ์  เด็กสามารถพัฒนาการอนุรักษ์ได้โดย
  • การนับ
  • การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
  • การเปรียบเทียบรูปทรง  ปริมาตร
  • เรียงลำดับ
  • จัดกลุ่ม
กิจกรรมในชั้นเรียน     วันนี้อาจารย์เบียร์ให้นักศึกษาวาดรูปสัตว์ที่มีขา  กี่ขาก็ได้จะเป็นสัตว์อะไรก็ได้
                                   หลังจากวาดรูประบายสีเสร็จ  อาจารย์เบียร์ให้นักศึกษานำกระดาษสีมาตกแต่ง                                          เป็นรองเท้าให้กับสัตว์ของตนเอง

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 1

บันทึกอนุทิน
วันที่  7  พฤศจิกายน  พ.ศ.  2556
ครั้งที่  1  เวลาเรียน  08:30 - 12:20 น.
เวลาเข้าเรียน  08:30     เวลาเลิกเรียน  12:20

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนในวันนี้

         วันนี้อาจารย์อธิบายถึงรายวิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
และเกณฑ์การให้คะแนนในรายวิชา  และงานที่จะได้รับมาบหมายในเทอมนี้               
         และอาจารย์มอบหมายงานให้นักศึกษาทำแผนผังความคิด  ในหัวข้อ  "การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย"  ว่าเรื่องใดที่มีความเหมาะสมในการนำมาจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยมากที่สุด  หลังจากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาที่สมัครในออกมาพูดถึงการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย