ยินดีต้อนรับ สู่บล็อกของ นายวรมิตร สุภาพ เอกการศึกษาปฐมวัย วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ครับ

วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน
วันที่  28  พฤศจิกายน  พ.ศ.  2556
ครั้งที่  4  เวลาเรียน  08:30 - 12:20 น.
เวลาเข้าเรียน  08:30     เวลาเลิกเรียน  12:20

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนในวันนี้
                            วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอ  รายงานกลุ่มที่แต่ละกลุ่มได้รับมอบหมายทั้งหมด  5  กลุ่ม  ดังนี้
  1. จำนวนและการดำเนินการ
  2. การวัด
  3. พีชคณิต
  4. เรขาคณิต
  5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น  
และอาจารย์ให้นักศึกษาแจกแบบประเมินการนำเสนอหน้าชั้นเรียน  คนละ  1  แผ่น


กลุ่มที่ 1  จำนวนและการดำเนินการ  :  การนำเสนอของกลุ่มที่  1  พูดถึงเรื่อง  จำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริงของเด็กปฐมวัย  เช่น    การนับดอกไม้  การนับดินสอ  ดังที่ตัวอย่างของเพื่อนนำมาสาธิตให้ดู
                
                การนำไปใช้  :  สามารถนำไปฝึกสอนเด็กให้เด็กบวกเลขเป็น  โดยการนำสิ่งของที่อยู่รอบๆตัวเด็กมาประยุกต์ใช้ในการสอนการนับ  เพื่อให้เด็กมีความสุข  สนุกสนานและเพลิดเพลิน  ในการได้รับประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



กลุ่มที่ 2  การวัด  :  การจัดกิจกรรมการวัดที่นำมาใช้สอนเด็กนั้นจะต้องเป็นสิ่งของที่อยู่รอบๆตัวเด็ก  เพื่อให้เด็กมีความคิดร่วมกันและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน  และสิ่งที่สำคัญการวัดของเด็กปฐมวัยนั้นจะต้องไม่มีหน่วยในการวัด

      การนำไปใช้  :  ครูสามารถนำการวัดไปประยุกต์ใช้กับกิจกรรมการเล่านิทาน  โดยการนำสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเด็กมาเล่าให้เป็นนิทานให้สอดคล้องกับการวัดของเด็กปฐมวัย  เพื่อให้เด็กปฐมวัย  มีการตอบคำถามของครูผู้สอน  และความสนุกสนานเพลิดเพลิน


กลุ่มที่  3  พีชคณิต  :  คือ  เลขคณิตของสัญลักษณ์ที่ใช้แทนจำนวน  เป็นคณิตศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย  ที่มีความเกี่ยวข้องกับรูปและความสัมพันธ์ในรูปแบบของรูปที่มีรูปร่าง  ขนาดหรือสี  ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง

        การนำไปใช้  :  ตัวอย่างที่  1 ครูสามารถจัดกิจกรรมในห้อง  โดยการใช้ลูกเต๋า  2  สี  สีละ  4  ชิ้น  มารวมกัน  แล้วให้เด็กนั้นมีส่วนร่วมในการคิดร่วมกันกับเพื่อน  เด็กอาจแยกเป็นดังรูปตัวอย่างก็ได้เช่นกัน
                                ตัวอย่างที่  2  ครูอาจจัดกิจกรรมในห้องเรียนให้เด็กนั่งเป็นกลุ่ม  กลุ่มละ  5  คน  แล้วแจกรูปภาพไก่ให้เด็ก  แต่ละภาพตัวจะไม่เท่ากัน  เด็กบางกลุ่มอาจจะเรียงจากสูงไปหาเตี้ย  หรือ  เตี้ยไปหาสูง  ก็เป็นไปได้


กลุ่มที่  4  เรขาคณิต  :  รูปทรงและรูปร่างเป็นพื้นฐานต่างๆของเด็กปฐมวัย  ที่เป็นสิ่งของต่างๆรอบตัวเด็กที่เด็กเห็นในชีวิตประจำวัน  เช่น  วงกลม  (เหรียญ)  สี่เหลี่ยม  (สมุด)  สามเหลี่ยม  (เค้ก)  ทรงกระบอก  (ขวดน้ำ)  ฯลฯ

        การนำไปใช้     :     1. ครูสามารถให้เด็กนั้นทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ก็ได้  ก่อนหน้านั้นต้องอธิบายถึงรูปทรงต่างๆว่าแต่ละรูปทรงเป็นอย่าง  เพื่อให้เด็กรู้ถึงรูปทรงเรขาคณิต  การจัดกิจกรรมโดยคุณครูตัดกระกาษสีให้เป็นรูปทรงเรขาคณิตสีต่างๆ  แล้วแบ่งกลุ่ม  กลุ่ม  6  คน  แล้วแจกกระดาษสีที่ตัดเตรียมไว้แล้วใส่ในตะกร้า  แล้วแจกให้เด็กทุกกลุ่ม  แล้วให้เด็กนั้นทากาวนำมาติดลงบนกระดาษเปล่าที่คุณครูเตรียมไว้ให้  เพื่อให้เด็กมีจินตนาการและคิดริเริ่มสร้างสรรค์


                                    2. ครูอาจให้เด็กปฐมวัยดูนิทานเรขาคณิตก็ได้

                                  
กลุ่มที่  5  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น  :  การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอในรูปแบบข้อมูลแผนภูมิอย่างง่าย  โดยการวิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสมในระดับการศึกษาปฐมวัย  เช่น  การเปรียบเทียบ  และการประมวลผลข้อมูล   ครับ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น