ยินดีต้อนรับ สู่บล็อกของ นายวรมิตร สุภาพ เอกการศึกษาปฐมวัย วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ครับ

วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน
วันที่  12  ธันวาคม  พ.ศ.  2556
ครั้งที่  5  เวลาเรียน  08:30 - 12:20 น.
เวลาเข้าเรียน  08:30     เวลาเลิกเรียน  12:20

สิ่ิงที่ได้รับจากการเรียนในวันนี้
                            กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
          ให้เด็กได้เตรียมความพร้อมด้านต่าง  ๆ  ทางคณิตสาสตร์ที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษา
          สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่  จำนวนและการดำเนินการ  จำนวน  การดำเนินการของจำนวน  การรวมและการแยกกลุ่ม
สาระที่  การวัด  :  ความยาว  น้ำหนัก  ปริมาตร  เงิน  และเวลา
สาระที่  เรขาคณิต  :  ตำแหน่ง  ทิศทาง  ระยะทาง  รูปเราคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
สาระที่  พีชคณิต  :  แบบรูปและความสัมพันธ์
สาระที่  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น  :  การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ
สาระที่  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์  การแก้ไปปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อสารความหมายทางคณิตศาสตร์และนำเสนอ  และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น  ๆ   และมีความริเริ่มสร้างสรรค์
 
          คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย
1.      มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์  (Mathematica  Thinking)
-          จำนนวนนับ  ถึง  20
-          เข้าใจหลักการนับ
-          รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิก  และตัวเลขไทย
-          รู้ค่าของจำนวน
-          เปรียบเทียบ  เรียงลำดับ
-          การรวม  และการแยกกลุ่ม
2.      มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว  น้ำหนัก  ปริมาตร  เงินและเวลา
-          เปรียบเทียบ  เรียงลำดับ  และวัดความยาว  น้ำหนัก  ปริมาตร
-          รู้จักเงินเหรียญ  และธนบัตร
-          เข้าใจเกี่ยวกับเวลา  และคำที่ใช้บอกช่วงเวลา
3.      มีความรู้ความเข้าใจ  พื้นฐานทางคณิตศาสตร์
-          เรขาคณิตเกี่ยวข้องกับ  ตำแหน่ง  ทิศทาง  ระยะทาง
-          รูปเรขาคณิต  สามมิติ  และรูปเรขาคณิตสองมิติ
4.      มีความรู้ความเข้าใจ  แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง  ขนาด  สิ่งที่สัมพันธ์อย่างไรอย่างหนึ่ง
5.      มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่าย
6.      มีทักษะและกระบวนการทางคณิต  การบวกที่จำเป็น

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ให้กับเด็ก รวมทั้งเป็นแนวทางในการกำกับ ตรวจสอบ และประเมินผล มาตรฐานการเรียนรู้จัดให้อยู่ภายใต้สาระหลัก ดังนี้

สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค.. 1.1 : เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้ จำนวนในชีวิจริง
                   จำนวน
-          การใช้จำนวนบอก  ปริมาณ  ที่ได้จากการนับ
-          การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิก  และตัวเลขไทย
-          การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก  แสดงจำนวน
-          การเรียงลำดับจำนวน
ภาพตัวอย่างการเรียงลำดับจำนวน  เช่นถ้านต้องการให้เด็กตอบเชิงคณิตศาสตร์  ควรถามเด็กว่า

จำนวนของแมวกับแมลงเต่าทองอันไหมมากกว่ากันครับ  


สาระที่ 2 : การวัด
มาตรฐาน ค.. 2.1 : เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และ เวลา
                            
                     ความยาว  น้ำหนัก  และปริมาตร
-          การเปรียบเทียบ / การวัด / การเรียงลำดับความยาว
-          การเปรียบเทียบ / การชั่ง / การเรียงลำดับน้ำหนัก
-          การเปรียบเทียบปริมาตร / การตวง
                    เงิน
-          ชนิดและค่าของเงิน  เหรียญและธนบัตร
เวลา
-          ช่วงเวลาในแต่ละวัน
-          ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับวัน

สาระที่ 3 : เรขาคณิต
มาตรฐาน ค.. 3.1 : รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
มาตรฐาน ค.. 3.2 : รู้จัก จำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลง รูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
                   แปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
                         ตำแหน่ง  ทิศทางและระยะทาง
-          การบอกตำแหน่ง  ทิศทาง  และระยะทางของสิ่งต่าง  ๆ
       รูปเรขาคณิตสามมิติ  และรูปเรขาคณิตสองมิติ
-          ทรงกลม  ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก  กรวย  ทรงกระบอก
-          รูปวงกลม  รูปสามเหลี่ยม  รูปสี่เหลี่ยม
-          การเปลี่ยนแปลง  รูปเรขาคณิตสองมิติ
-          การสร้างสรรค์งานศิลปะ  ด้วยเรขาคณิต
                                           เรขาคณิตที่เด็กต้องรู้พื้นฐาน

 ภาพที่เด็กเขาแยกแยะได้
            

            

            ภาพที่ซ้อนกันอยู่
            

สาระที่ 4 : พีชคณิต
มาตรฐาน ค.. 4.1 : เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
                   แบบรูปและความสัมพันธ์
-          แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง  ขนาด  หรือสีที่สัมพันธ์กันอย่างใด  อย่างหนึ่ง
                                             
                                                 ตัวอย่างที่  1




ตัวอย่างที่  2





ตัวอย่างที่  3





สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค.. 5.1 : รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ
การเก็บรวบรวมข้อมูลและนำเสนอ
-          การนำเสนอในรูปแบบแผนภูมิแบบง่าย

สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
หมายเหตุ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ การแก้ปัญหา การให้ เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และ การนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และ เชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ในระดับปฐมวัย ยังไม่กำหนดมาตรฐานของสาระที่ 6 แต่การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ครูควรสอดแทรกทักษะและกระบวนการ ทางคณิตศาสตร์ดังกล่าวข้างต้น ตามความเหมาะสมกับระดับอายุ

กิจกรรมในวันนี้
               วันนี้อาจารย์แจกกระดาษเปล่าให้นักศึกษา  คนละ  1  แผ่น  แล้วอาจารย์ให้นักศึกษานำกระดาษสีไปตัดเป็นรูปเรขาคณิต  หรือจะเป็น  วงกลม  สี่เหลี่ยม  สามเหลี่ยม  แล้วนำมาติดลงบนกระดาษ  A4  แล้วให้นักศึกษาวาดภาพสัตว์ลงบนกระดาษของตนเอง  1  ตัว  อาจารย์ให้นักศึกษาได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์จากรูปเรขาคณิตและจินตนาการของตนเอง 
                                               
ผลงานของผมในวันนี้

การนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์
  • สามารถนำกิจกรรมที่ทำในวันนี้ไปต่อยอดในการเรียนศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กได้
  • สามารถนำความรู้ในเรื่องคณิตศาสตร์ไปใช้ในการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัยเพื่อให้เด็กปฐมวัยมีความพร้อมมากยิ่งขึ้นในการเรียนต่อไปในชั้นประถมศึกษา
  • สามารถนำรูปทรงเรขาคณิตไปสอนให้เด็กปฐมวัยรู้จักรูปเรขาคณิตพื้นฐาน
  • สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ไปใช้ในการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัยในอนาคตข้างหน้าต่อไป

วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน
วันที่  28  พฤศจิกายน  พ.ศ.  2556
ครั้งที่  4  เวลาเรียน  08:30 - 12:20 น.
เวลาเข้าเรียน  08:30     เวลาเลิกเรียน  12:20

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนในวันนี้
                            วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอ  รายงานกลุ่มที่แต่ละกลุ่มได้รับมอบหมายทั้งหมด  5  กลุ่ม  ดังนี้
  1. จำนวนและการดำเนินการ
  2. การวัด
  3. พีชคณิต
  4. เรขาคณิต
  5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น  
และอาจารย์ให้นักศึกษาแจกแบบประเมินการนำเสนอหน้าชั้นเรียน  คนละ  1  แผ่น


กลุ่มที่ 1  จำนวนและการดำเนินการ  :  การนำเสนอของกลุ่มที่  1  พูดถึงเรื่อง  จำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริงของเด็กปฐมวัย  เช่น    การนับดอกไม้  การนับดินสอ  ดังที่ตัวอย่างของเพื่อนนำมาสาธิตให้ดู
                
                การนำไปใช้  :  สามารถนำไปฝึกสอนเด็กให้เด็กบวกเลขเป็น  โดยการนำสิ่งของที่อยู่รอบๆตัวเด็กมาประยุกต์ใช้ในการสอนการนับ  เพื่อให้เด็กมีความสุข  สนุกสนานและเพลิดเพลิน  ในการได้รับประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



กลุ่มที่ 2  การวัด  :  การจัดกิจกรรมการวัดที่นำมาใช้สอนเด็กนั้นจะต้องเป็นสิ่งของที่อยู่รอบๆตัวเด็ก  เพื่อให้เด็กมีความคิดร่วมกันและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน  และสิ่งที่สำคัญการวัดของเด็กปฐมวัยนั้นจะต้องไม่มีหน่วยในการวัด

      การนำไปใช้  :  ครูสามารถนำการวัดไปประยุกต์ใช้กับกิจกรรมการเล่านิทาน  โดยการนำสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเด็กมาเล่าให้เป็นนิทานให้สอดคล้องกับการวัดของเด็กปฐมวัย  เพื่อให้เด็กปฐมวัย  มีการตอบคำถามของครูผู้สอน  และความสนุกสนานเพลิดเพลิน


กลุ่มที่  3  พีชคณิต  :  คือ  เลขคณิตของสัญลักษณ์ที่ใช้แทนจำนวน  เป็นคณิตศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย  ที่มีความเกี่ยวข้องกับรูปและความสัมพันธ์ในรูปแบบของรูปที่มีรูปร่าง  ขนาดหรือสี  ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง

        การนำไปใช้  :  ตัวอย่างที่  1 ครูสามารถจัดกิจกรรมในห้อง  โดยการใช้ลูกเต๋า  2  สี  สีละ  4  ชิ้น  มารวมกัน  แล้วให้เด็กนั้นมีส่วนร่วมในการคิดร่วมกันกับเพื่อน  เด็กอาจแยกเป็นดังรูปตัวอย่างก็ได้เช่นกัน
                                ตัวอย่างที่  2  ครูอาจจัดกิจกรรมในห้องเรียนให้เด็กนั่งเป็นกลุ่ม  กลุ่มละ  5  คน  แล้วแจกรูปภาพไก่ให้เด็ก  แต่ละภาพตัวจะไม่เท่ากัน  เด็กบางกลุ่มอาจจะเรียงจากสูงไปหาเตี้ย  หรือ  เตี้ยไปหาสูง  ก็เป็นไปได้


กลุ่มที่  4  เรขาคณิต  :  รูปทรงและรูปร่างเป็นพื้นฐานต่างๆของเด็กปฐมวัย  ที่เป็นสิ่งของต่างๆรอบตัวเด็กที่เด็กเห็นในชีวิตประจำวัน  เช่น  วงกลม  (เหรียญ)  สี่เหลี่ยม  (สมุด)  สามเหลี่ยม  (เค้ก)  ทรงกระบอก  (ขวดน้ำ)  ฯลฯ

        การนำไปใช้     :     1. ครูสามารถให้เด็กนั้นทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ก็ได้  ก่อนหน้านั้นต้องอธิบายถึงรูปทรงต่างๆว่าแต่ละรูปทรงเป็นอย่าง  เพื่อให้เด็กรู้ถึงรูปทรงเรขาคณิต  การจัดกิจกรรมโดยคุณครูตัดกระกาษสีให้เป็นรูปทรงเรขาคณิตสีต่างๆ  แล้วแบ่งกลุ่ม  กลุ่ม  6  คน  แล้วแจกกระดาษสีที่ตัดเตรียมไว้แล้วใส่ในตะกร้า  แล้วแจกให้เด็กทุกกลุ่ม  แล้วให้เด็กนั้นทากาวนำมาติดลงบนกระดาษเปล่าที่คุณครูเตรียมไว้ให้  เพื่อให้เด็กมีจินตนาการและคิดริเริ่มสร้างสรรค์


                                    2. ครูอาจให้เด็กปฐมวัยดูนิทานเรขาคณิตก็ได้

                                  
กลุ่มที่  5  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น  :  การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอในรูปแบบข้อมูลแผนภูมิอย่างง่าย  โดยการวิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสมในระดับการศึกษาปฐมวัย  เช่น  การเปรียบเทียบ  และการประมวลผลข้อมูล   ครับ